เมนู

มุทุตรวรรคที่ 2



1. ปฏิลาภสูตร



ว่าด้วยอินทรีย์ 5



[870] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็น
ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.
[871] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกใน
ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้
เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็น
ผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.
[872] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกปรารภสัมมัปธาน 4 ย่อม
ได้ความเพียร นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.
[873] ก็สินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน 8 ย่อมได้
สติ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.
[874] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วง
นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.
[875] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี
ปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ
ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้แล.
จบปฏิลาภสูตรที่ 1

มุทุตรวรรคที่ 2



อรรถกถาปฎิลาภสูตร



ปฏิลาภสูตรที่ 1.

คำว่า ปรารภสัมมัปปธาน คือ อาศัยความ
เพียรชอบ หมายความว่า เจริญความเพียรชอบ. แม้ในสตินทรีย์ก็ทำนอง
เดียวกันนี้แหละ.
จบอรรถกถาปฏิลาภสูตรที่ 1

2. ปฐมสังขิตตสูตร



ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ



[876] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็น
ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ 5 ประการนี้ แล.
[877] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์
5 ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรี 5 ยังอ่อนกว่า
อินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ 5
ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะ
อินทรีย์ 5 ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.
จบปฐมสังขิตตสูตรที่ 2